วันจันทร์ที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2555

ศึกษานอสถานที่ ณ สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล และ หอศิลปะและวัฒนธรรมภาคตะวันออก

หลักและทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับสื่อการสอน
สื่อแบ่งตามประสบการณ์การเรียนรู้
   การแบ่งประเภทของสื่อการสอน ถ้าแบ่งตามระดับประสบการณ์ของผู้เรียน ซึ่ง เดล (Dale 1969:107) ได้แบ่งสื่อการสอนออกเป็น 10 ประเภท โดยพิจารณาจากลักษณะของประสบการณ์ที่ได้รับจากสื่อการสอนประเภทนั้น โดยยึดเอาความเป็นรูปธรรมและนามธรรมเป็นหลักในการแบ่งประเภท และได้เรียงลำดับจากประสบการณ์ที่เป็นรูปธรรมที่สุดประสบการณ์ ที่เป็นนามธรรมที่สุด (Abstract Concrete Continuum) เรียกว่า "กรวยประสบการณ์" (Cone of Experience) ดังแผนภูมิ



   ขั้นที่ 1 ประสบการณ์ตรงและมีความมมุ่งหมาย (Direct Purposeful Experience) เป็นประสบการณ์ที่เป็นรากฐานของประสบการณ์ทั้งปวง เพราะได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริง ได้เห็น ได้ยินเสียง ได้สัมผัสด้วยตนเอง เช่น การเรียนจากของจริง (Real object) ได้ร่วม กิจกรรมการเรียนด้วยการลงมือกระทำ เป็นต้น
   ขั้นที่ 2 ประสบการณ์จำลอง (Contrived Simulation Experience) จากข้อจำกัดที่ไม่สามารถจัดการเรียนการสอนจากประสบการณ์จริงให้แก่ผู้เรียนได้ เช่น ของจริงมีขนาดใหญ่หรือเล็กเกินไป มีความซับซ้อน มีอันตรายจึงใช้ประสบกาณ์จำลองแทน เช่น การใช้หุ่นจำลองแทน เช่น การใช้หุ่นจำลอง (Model) ของตัวอย่าง (Specimen) เป็นต้น
   ขั้นที่ 3 ประสบการณ์นาฏการ (Dramatized Experience) เป็นประสบการณ์ที่จัดขึ้นแทนประสบการณ์จริงที่เป็นอดีตไปแล้ว หรือเป็นนามธรรมที่ยากเกินกว่าจะเข้าใจและไม่สามารถ ใช้ประสบการณ์จำลองได้ เช่น การละเล่นพื้นเมือง ประเพณีต่างๆ เป็นต้น
   ขั้นที่ 4 การสาธิต (Demonstration) คือการอธิบายข้อเท็จจริง ความจริง และกระบวนการที่สำคัญด้วย การแสดงให้เห็นเป็นลำดับขั้น การสาธิตอาจทำได้โดยครูเป็นผู้สาธิต นอกจากนี้อาจใช้ภาพยนต์ สไลด์และฟิล์ม สตริป แสดงการสาธิตในเนื้อหาที่ต้องการสาธิตได้
   ขั้นที่ 5 การศึกษานอกสถานที่ (Field Trip) การพานักเรียนไปศึกษายังแหล่งเรียนรู้นอกห้องเรียน เพื่อเปิดโอกาสให้นักเรียนเรียนรู้หลายๆด้าน ได้แก่ การศึกษาความรู้จากสถานที่สำคัญ เช่น โบราณสถาน โรงงานอุตสาหกรรม เป็นต้น
   ขั้นที่ 6 นิทรรศการ (Exhibition) การจัดแสดงสิ่งต่างๆ รวมทั้งมีการสาธิตและการฉายภาพยนต์ประกอบเพื่อให้ประสบการณ์ในการเรียนรู้แก่ผู้เรียนหลายด้าน ได้แก่ การจัดป้ายนิทรรศการ การจัดแสดงผลงานนักเรียน
   ขั้นที่ 7 ภาพยนต์และโทรทัศน์ (Motion Picture and Television) ผู้เรียนได้เรียนด้วยการเห็นและได้ยินเสียงเหตุกาณ์ และเรื่องราวต่างๆ ได้มองเห็นภาพในลักษณะการเคลื่อนไหวเหมือนจริง ไปพร้อมๆกัน
   ขั้นที่ 8 การบันทึกเสียง วิทยุ และภาพนิ่ง (Recording, Radio and Television) ได้แก่ เทปบันทึกเสียง แผ่นเสียง วิทยุ ซึ่งต้องอาศัยเรื่องการขยายเสียง ส่วนภาพนิ่ง ได้แก่ รูปภาพทั้งชนิดโปร่งแสงที่ใช้กับเครื่องฉายภาพข้ามศีรษะ (Overhead Projector) สไลด์ (Slide) ภาพนิ่งจากคอมพิวเตอร์ และ ภาพบันทึกเสียงที่ใช้กับเครื่องฉายภาพทึบแสง (Overhead Projector)
   ขั้นที่ 9 ทัศนสัญลักษณ์ (Visual Symbol) มีความเป็นนามธรรมมากขึ้น มีความจำเป็นที่จะต้องคำนึงถึงประสบการณ์ของผู้เรียนเป็นพื้นฐาน
   ขั้นที่ 10 วจนสัญลักษณ์ (Verbal Symbol) เป็นประสบการณ์ขั้นสุดท้าย ซึ่งเป็นนามธรรมที่สุด ไม่มีความคล้ายคลึงกันระหว่างวจนสัญลักษณ์กับความจริง ได้แก่ การใช้ตัวหนังสือแทนคำพูด
วัสดุกราฟิก
   วัสดุกราฟิก หมายถึง ทัศนวัสดุอย่างหนึ่งที่นำมาใช้ในการสื่อความหมายเพื่อแสดงสัญลักษณ์หรือความหมายของสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับข้อเท็จจริง แนวคิด และเสริมความเข้าใจโดยอาศัยส่วนประกอบที่เป็นรูปภาพ สัญลักษณ์ แผนภาพ ฯลฯ ซึ่งวัสดุกราฟิกมี 3 ประเภท ได้แก่ วัสดุกราฟิก 2 มิติ และวัสดุกราฟิก 3 มิติ และวัสดุอิเล็กทรอนิกส์ ดังรายละเอียดดังต่อไปนี้
ประเภทของสื่อวัสดุ 
   1. สื่อวัสดุกราฟิก เป็นวัสดุ 2 มิติ รูปร่างบางแบน เช่น รูปภาพ ตัวหนังสือ และสัญลักษณ์
   2. วัสดุ 3 มิติ เป็นสื่อที่สร้างมาจากวัสดุต่างๆ สามารถตั้งแสดงด้วยตนเอง เช่น หุ่นจำลอง ของจริง ของตัวอย่าง ป้ายนิทศ กระดานแม่เหล็ก ตู้อันตรทัศน์สรุปสาระสำคัญ
   3. สื่อวัสดุอิเล็กทรอนิกส์ เป็นสื่อที่ใช้กับเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ เทป เทปวีดีทัศน์ แผ่นซีดี วีซีดี ดีวีดี
สื่อวัสดุกราฟิก
   1. วัสดุกราฟิก ได้แก่ ภาพเขียน ภาพสี และภาพขาวดำ ตัวหนังสือ เส้น สัญลักษณ์ งานกราฟิก ในสื่อการเรียนการสอนมีวัตถุประสงค์เพื่อการสื่อความหมาย และถ่ายทอดความรู้ไปสู่ผู้เรียน
   2. คุณค่าของวัสดุกราฟิก วัสดุกราฟิกเป็นสื่อพื้นฐานที่ใช้ประกอบการเรียนการสอน เผยแพร่ความรู้ทั่วไปจึงมีคุณค่าหลายประการคือ ราคาถูก ครูสามารถผลิตได้เอง
   3. ประโยชน์ของวัสดุกราฟิก ช่วยให้ผู้เรียนและผู้สอนเข้าใจเนื้อหาบทเรียนได้ตรงกัน กระตุ้นความสนใจของผู้เรียนได้ดีกว่าตัวหนังสือ
   4. ลักษณะของวัสดุกราฟิกที่ดี คือ ตรงกับเนื้อหาและวัตถุประสงค์ของบทเรียน มีรูปแบบง่าย ต่อการรับรู้ ไม่ยุ่งยาก สื่อความหมายได้ชัดเจนรวดเร็ว
   5. การออกแบบวัสดุกราฟิก เหมาะสมกับลักษณะของผู้เรียน ตรงตามเนื้อหาและวัตถุประสงค์ของบทเรียน การออกแบบต้องคำนึงถึงการสื่อความหมายเป็นสำคัญ
   6. ข้อดีและข้อจำกัดของวัสดุกราฟิก แสดงเนื้อหาให้เข้าใจง่ายขึ้น ผลิตง่ายต้นทุนการผลิตต่ำ ใช้งานสะดวกรวดเร็ว เก็บรักษาง่าย ผู้เรียนมีโอกาสร่วมกิจกรรมการเรียนการสอนได้ง่าย ข้อจำกัดใช้ได้กับกลุ่มเป้าหมายขนาดเล็กเท่านั้น วัสดุกราฟิกที่มีคุณภาพต้องอาศัยความชำนาญ ในการออกแบบและผลิต
   7. ประเภทของวัสดุกราฟิก 
-  แผนภูมิ เป็นวัสดุกราฟิกที่มีองค์ประกอบเป็นสัญลักษณ์ รูปแบบและตัวอักษร ใช้ประกอบการบรรยาย ชี้แจง สรุปสาระสำคัญ เนื้อหาที่เหมาะกับสื่อแผนภูมิ ได้แก่ ขั้นตอน การเปรียบเทียบ กระบวนการ การแสดงความสัมพันธ์ของข้อมูลข่าวสาร
สื่อวัสดุ 3 มิติ 
   1. วัสดุ 3 มิติ หมายถึง รูปทรงประกอบด้วยขนาดทั้ง 3 ทิศทางคือ ส่วนกว้าง ส่วนยาว ส่วนหนา ส่วนนูน ส่วนเว้า บางอย่างเป็นสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น บางอย่างที่อยู่โดยธรรมชาติ
   2. ประเภทของวัสดุ 3 มิติ 
-  หุ่นจำลอง ใช้ในการถ่ายทอดความรู้แทนความจริงในกรณีที่ของจริงไม่สามารถนำมาแสดงได้
-  ของจริง สิ่งเร้าต่างๆ ที่อยู่ตามธรรมชาติและมนุษย์สร้างขึ้น มีประโยชน์ ต่อการเรียนรู้ด้วยการแสดงสาระที่เป็นจริงได้ดีกว่าหุ่นจำลอง
-  ป้ายนิเทศ ใช้แสดงเรื่องราวต่างๆ เช่น รูปภาพ แผนภูมิ ข้อความอธิบายภาพ เพื่อถ่ายทอดเนื้อหาความรู้เรื่องใดเรื่องหนึ่ง ป้ายนิเทศเป็นสื่อที่มีคุณค่าต่อการเรียนการสอน สามารถใช้ได้ทุกขั้นตอนในกระบวนการเรียนการสอน
-  ตู้อันตรทัศน์ เป็นทัศนวัสดุที่ออกแบบเป็นสื่อ 3 มิติ เรียนแบบธรรมชาติกระตุ้นความสนใจมีลักษณะเป็นฉาก มีความคล้ายคลึงกับความจริง เช่นฉากใต้ทะเล ฉากเขื่อนผลิตกระแสไฟฟ้า โดยมีกล่องพลาสติก หรือกระจก หรือแผ่นอคิริกใส ครอบอยู่
-  กระบะทราย เป็นทัศนวัสดุ 3 มิติที่นำเสนอเรื่องราวจำลองคล้ายของจริงบนพื้นทรายและมีวัสดุต่างๆสามารถสัมผัสได้โดยไม่มีวัสดุใดครอบอยู่



วันอาทิตย์ที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2555

วิธีระบบกับเทคโนโลยีการศึกษา

สัปดาห์ที่ 3 เรื่องวิธีระบบกับเทคโนโลยีการศึกษา

หลักและแนวคิดวิธีระบบ

ระบบ คืออะไร
            ภาพรวมของหน่วยสมบูรณ์ที่ประกอบด้วยหน่วยย่อยที่เป็นอิสระแต่มี ความสัมพันธ์ และมี ปฏิสัมพันธ์ ซึ่งกันและกันโดยมี จุดมุ่งหมายที่ชัดเจน
จากความหมายข้างต้น สรุปได้ว่า ระบบจะต้องมี
1.องค์ประกอบย่อย
2.องค์ประกอบย่อยนั้นต้องมีความสัมพันธ์กัน     มีการโต้ตอบ มีปฏิสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน
3.ระบบต้องมีเป้าหมายในการดำเนินกิจกรรมนั้น ๆ
4.กลไกการควบคุมเพื่อให้ทำงานตามจุดมุ่งหมาย
การทำงานของระบบ

Input : ปัจจัยนำเข้า   เป็นการป้อนวัตถุดิบหรือข้อมูลต่างๆ การตั้งปัญหา การตั้งวัตถุประสงค์ เพื่อดำเนินงานในระบบนั้น 
Process : กระบวนการ  เป็นการรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลที่ป้อนเข้ามา เพื่อดำเนินการตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ (เป็นขั้นทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง)
Control  : ควบคุม เป็นการควบคุมและตรวจสอบเพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพและได้ผลลัพธ์อย่างมีคุณภาพ 
Output : ผลลัพธ์  เป็นผลผลิตที่ได้ออกมาภายหลังจากการดำเนินงานใจขั้นของกระบวนการสิ้นสุดลง รวมถึงการประเมินด้วย 
Feedback : ข้อมูลป้อนกลับ เป็นการนำเอาผลลัพธ์ที่ประเมินนั้นมาพิจารณา ว่ามีข้อบกพร่องอะไรบ้าง เพื่อจะได้ทำการปรับปรุงแก้ไขให้สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ตัวอย่าง    ระบบหายใจ ประกอบด้วย จมูก หลอดลม ปอด กระบังลม                                                          ระบบหม้อหุงข้าว ประกอบด้วย สายไฟ ปลั๊ก เซนเซอร์ (เทอร์โมสแตก)แผ่นความร้อน สวิทซ์ ฝาหม้อโครง ฐาน  
ลักษณะของระบบที่ดี                                                                                                                                                                     1.มีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม (Interact with environment)
2.มีจุดมุ่งหมายหรือเป้าหมาย (Purpose)
3.มีการรักษาสภาพตนเอง (Self-regulation)
4.มีการแก้ไขตนเอง (Self-correction)

ระบบเปิดและระบบปิด     
 ระบบเปิด คือ ระบบที่รับปัจจัยนำเข้า (Input)       จากสิ่งแวดล้อมและขณะเดียวกันก็ส่งผลผลิต (Output) กลับไปให้สิ่งแวดล้อมอีกครั้งหนึ่ง เช่น ระบบสังคม ระบบการศึกษา ระบบหายใจ ฯลฯ                                                 
 ระบบปิด คือ ระบบที่มิได้รับปัจจัยนำเข้าจากสิ่งแวดล้อม หรือรับปัจจัยนำเข้าจากสิ่งแวดล้อมน้อยมาก แต่ขณะเดียวกันก็ส่งผลผลิต (Output) ให้กับสิ่งแวดล้อมได้ด้วย เช่น ระบบไฟฉาย ระบบแบตเตอร์รี่ ฯลฯ 
การคิดอย่างมีระบบ คือ การพิจารณาปฏิสัมพันธ์ที่เกี่ยวข้องระหว่าง    การดำเนินงานและองค์ประกอบทั้งหลายในระบบมิใช่มองเพียงจุดใดจุดหนึ่งเท่านั้น
วิธีระบบ (Systems approach)  เป็นการวางแผนระบบใหม่หรือพัฒนาระบบให้ดีขึ้นหลังการวิเคราะห์ระบบแล้วโดยกำหนดขั้นตอนที่เหมาะสม จัดวางปรัชญา ปณิธาน จุดมุ่งหมาย องค์ประกอบ ภารกิจ ปฏิสัมพันธ์ ปัจจัยเกื้อหนุน และการประเมินเพื่อประสิทธิภาพของงาน
ตัวอย่างวิธีระบบ                                                                                                                                                               
1. วิเคราะห์
2. สังเคราะห์
3. สร้างแบบจำลอง 
4. ทดลองใช้และประเมินผลเพื่อปรับปรุงแก้ไข   

กระบวนการแก้ปัญหาด้วยวิธีระบบ
1. กำหนดปัญหา
2. กำหนดขอบข่ายของปัญหา
3. วิเคราะห์ปัญหา
  4. กำหนดแนวทางแก้ปัญหา    
  5. การเลือกแนวทางแก้ปัญหา 
  6. วางแผนเตรียมการแก้ปัญหา 
  7. นำไปทดลองกับกลุ่มย่อย 
  8. ควบคุมตรวจสอบเพื่อปรับปรุงแก้ไข

การพัฒนาระบบ
1. กำหนดภาพรวม สร้างภาพขึ้นในสมอง
2. รวบรวมข้อมูลเพื่อกำหนดจุดมุ่งหมาย
3. กำหนดคุณลักษณะ ความสามารถของระบบ (อยากให้ระบบทำอะไรได้บ้าง) 
4. ศึกษา กำหนดองค์ประกอบต่างๆ
5. กำหนดหน้าที่ความสัมพันธ์ขององค์ประกอบต่างๆ
6. กำหนดกลไกการทำงาน กลไกการควบคุมเพื่อให้ได้ตามจุดมุ่งหมาย  
7. ศึกษาสภาพแวดล้อมเพื่อการใช้ระบบ

ตัวอย่างรูปแบบการออกแบบและการพัฒนาการสอน
  •                     The Kemp Model
  •                      Dick and Carey
  •                      IDI
  •                      IPISD












วันอังคารที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2555

วิวัฒนาการของเทคโนโลยีการศึกษา

สัปดาห์ที่ 2
วิวัฒนาการของเทคโนโลยีการศึกษา
แนวคิดที่ 1 : โสตทัศนศึกษา = วิทยาศาสตร์ + วิศวะ = เน้นวัสดุอุปกรณ์
แนวคิดที่ 2 : พฤติกรรม + วิทย์กายภาพ = "วิธีการจัดระบบ"
แนวคิดที 3 : มุ่งเน้นการเรียนรู้รายบุคคล
ภาระงานของนักเทคโนโลยีการศึกษา

  • เทคโนโลยีการศึกษาในระดับผู้ปฎิบัติ
  • เทคโนโลยีการศึกษาที่เป็น นักออกแบบ นักจัดระบบ

(เช่น วิเคราะห์ระบบการสอน สังเคราะห์ระบบการสอน สร้างแบบจำลองระบบการสอน ทดสอบระบบการสอน)

  • เทคโนโลยีการศึกษาที่เป็นเครื่องมือบริหาร ได้แก่

1.  การเป็นเครื่องมือด้านการจัดระบบการบริหาร

2.  การเป็นเครื่องมือด้านธุรการ
3.  ในด้านการบริหารบุคลากร
4.  ในด้านการบริหารวิชาการ
5. ในด้านการเผยแพร่และประชาสัมพันธ์
6. ในด้านการพัฒนาบุคลากร
เทคโนโลยีการศึกษาที่เป็นเครื่องมือทางวิชาการมี 2 รูปแบบ

  1. การยึดสื่่อคนเป็นหลัก
  2. การยึดสื่อสิ่งของเป็นหลัก มีอยู่ 3 แนวทางคือ
          2.1การใช้สื่อสิ่งพิมพ์เป็นแกน
         2.2การใช้สื่อวิทยุหรือโทรทัศน์เป็นแกน
         2.3 การใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์หรือคอมพิวเตอร์เป็นแกน
นวัตกรรมทางการศึกษา
         หมายถึง การนำเอาสิ่งใหม่ซึ่งอาจจะอยู่ในรูปของความคิดหรือการกระทำ รวมทั้งสิ่งประดิษฐ์ต่างๆเข้ามาใช้ในระบบการศึกษา เพื่อมุ่งหวังที่จะเปลี่ยนแปลง/แก้ปัญหา สิ่งที่มีอยู่เดิมให้ระบบ  การจัดการศึกษามีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
กระบวนการเกิดของนวัตกรรม
ระยะที่ 1  มีการประดิษฐ์คิดค้น (Invention)
ระยะที่ 2 พัฒนาการ(Development)
ระยะที่ 3  การน าเอาไปปฏิบัติในสถานการณ์ทั่วไปซึ่งจัดว่าเป็นนวัตกรรม (Innovation) ขั้นสมบูรณ์

สื่อการสอน
สื่อการศึกษา / สื่อการสอน
Educational Media   สื่อการศึกษา
Instructional Media  สื่อการสอน
            สื่อการสอน Instructional Media
ความหมาย หมายถึงตัวกลางที่ใช้ในการถ่ายทอดความรู้ ประสบการณ์ ความคิดและทักษะต่าง ๆ ไปสู่ผู้เรียน
            ประเภทของสื่อการสอน


  • แบ่งตามลักษณะภายนอกและคุณสมบัติของสื่อการสอน
  • แบ่งตามแนวคิดเทคโนโลยีการศึกษา
  • แบ่งตามประสบการณ์การเรียนรู้จากธรรมไปสู่นามธรรม (Edgar Dale)
           แบ่งสื่อการสอนตามลักษณะภายนอกและคุณสมบัติของสื่อการสอน มี 3 ประเภท

1.สื่อที่ไม่ต้องฉาย (non projected material)
2.สื่อที่ต้องฉาย (projected material)
3.สื่อที่เกี่ยวกับเสียง (Audio material )
           แบ่งตามแนวคิดเทคโนโลยีการศึกษา
1. วัสดุ - สื่อที่ผลิตขึ้น เช่น รูปภาพ แผนภูมิ
2. อุปกรณ์ - เครื่องมืออุปกรณ์ สาเร็จรูป ทั้งที่สามารถใช้ได้ด้วยตนเอง เช่น หุ่นจาลอง และสื่อที่ต้องใช้ร่วมกับวัสดุ เช่น วีดิทัศน์ สไลด์
3. วิธีการ - กิจกรรม เกม ศูนย์การเรียน ทัศนศึกษา สถานการณ์จาลอง แหล่งความรู้ชุมชน
           แบ่งตามประสบการณ์การเรียนรู้จากรูปธรรมไปสู่นามธรรม (Edgar Dale)

  1. ประสบการณ์ตรงที่มีความหมาย
  2. ประสบการณ์จาลอง
  3. ประสบการณ์นาฏการ
  4. การสาธิต
  5. การศึกษานอกสถานที่
  6. นิทรรศการ
  7. โทรทัศน์
  8. ภาพยนตร์
  9. ภาพนิ่ง
  10. ทัศนสัญญลักษณ์
  11. วัจนสัญญลักษณ์





ความหมาย ขอบข่ายและความสำคัญของเทคโนโลยีการศึกษา

สัปดาห์ที่1
เรื่อง ความหมาย ขอบข่ายและความสำคัญของเทคโนโลยีการศึกษา
         หัวใจของเทคโนโลยีการศึกษาคือ ทำให้เกิดการเรียนรู้ "การเรียนรู้" คือ การเปลี่ยนแปลงอย่างถาวรในด้านความรู้ของบุคคลหรือพฤติกรรม รวมถึงประสบการณ์ต่างๆ
         ความหมายของเทคโนโลยี คือ การนำความรู้จากกระบวนการทางวิทยาศาสตร์มาสู่การประยุกต์ใช้ ทั้งในรูปแบบของอุปกรณ์เครื่องมือ แนวคิด เทคนิควิธีการ เพื่อให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
         การนำเทคโนโลยีมาใช้เพื่อเป้าหมาย ดังนี้
1. ด้านประสิทธิภาพ (Efficiency)
2.ด้านประสิทธิผล (Effectiveness)
3.ประหยัด (Economy)
4.ปลอดภัย (Safety)
       ความหมายของเทคโนโลยีการศึกษา คือ เป็นกระบวนการที่มีการบูรณาการอย่างซับซ้อนเกี่ยวกับบุคคล กรรมวิธี แนวคิด เครื่องมือ และองค์กร เพื่อนาไปใช้วิเคราะห์ปัญหา สร้าง ประยุกต์ใช้ ประเมินผล และจัดการ แก้ปัญหาต่าง ๆ ดังกล่าว ที่เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้ของมนุษย์
       ขอบข่ายของเทคโนโลยีการศึกษา  (DDUME) คือ การออกแบบ (Design)
                                                                                       การพัฒนา (Development)
                                                                                       การใช้ (Utilization)
                                                                                       การจัดการ (Management)
                                                                                       การประเมิน (Evaluation)