กฏหมายที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีการศึกษา
พรบ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2545)
พรบ.การกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550
หมวด 9 เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา
1. พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 หมวดที่ 9 เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา
- มาตรา 63รัฐต้องจัดสรรคลื่นความถี่ สื่อตัวนำและโครงสร้างพื้นฐานอื่นที่จำเป็นต่อการส่ง วิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ วิทยุโทรคมนาคม และการสื่อสารในรูปอื่นเพื่อใช้ประโยชน์สำหรับการศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ การศึกษาตามอัธยาศัย การทำนุบำรุงศาสนาศิลปะและวัฒนธรรมตามความจำเป็น
- มาตรา 64 รัฐต้องส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการผลิตและพัฒนาแบบเรียนตำรา หนังสือทางวิชาการ สื่อสิ่งพิมพ์อื่น วัสดุอุปกรณ์และเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาอื่น โดยเร่งรัดพัฒนาขีดความสามารถในการผลิต จัดให้มีเงินสนับสนุนการผลิต และมีการให้แรงจูงใจแก่ผู้ผลิตและพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา ทั้งนี้ โดยเปิดให้มีการแข่งขันโดนเสรีอย่างเป็นธรรม
2. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 ได้มีบทบัญญัติที่เกี่ยวข้องกับการสื่อสารของประชาชนเสรีภาพในการสื่อสาร ( มาตรา 37 ) เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น สื่อความหมาย และเสนอข่าว ( มาตรา 36 และ 41 ) สิทธิ์ในการได้รับข้อมูลข่าว ความคิดเห็น สื่อความหมาย และเสนอข่าว ( มาตรา 39 และ 41 ) สิทธิ์ในการได้รับข้อมูลข่าวสาร ( มาตรา 58 และ 59 ) การกระจายอานาจในการพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นสารสนเทศ(มาตรา 78 ) และเสรีภาพในการใช้สื่อสารมวลชน ( มาตรา 37) และ เสรีภาพในการใช้สื่อสารมวลชน ( มาตรา37,39,41,58,และ 59)
จุดประสงค์
- ทำความเข้าใจกับกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับ IT
- สามารถปฏิบัติตนให้ถูกต้องตามกฎหมาย
- สามารถปกป้องสิทธิ์ของตน
- เพื่อประโยชน์ในการอื่นๆ
กฏหมายที่เกี่ยวข้อง
- พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537
- พระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ.2544
- พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537
- กฎหมายลิขสิทธิ์ของประเทศไทยให้ความคุ้มครองแก่งานที่ทาเสร็จแล้วทุกงาน โดยไม่จาเป็นที่จะต้องแสดงการสงวนลิขสิทธิ์ หรือดาเนินการจดทะเบียนลิขสิทธิ์งานนั้น เป็นการให้ความคุ้มครองโดยอัตโนมัติ
- โปรแกรมคอมพิวเตอร์ สื่อดิจิตอล บทความบนเว็บเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์
การละเมิดลิขสิทธิ์
- ทำซ้าหรือดัดแปลง
- เผยแพร่ต่อสาธารณชน
- ให้เช่าต้นฉบับหรือสำเนางานดังกล่าว
ข้อยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์
(1)วิจัยหรือศึกษาโปรแกรมคอมพิวเตอร์นั้น
(2)ใช้เพื่อประโยชน์ของเจ้าของสำเนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์นั้น
(3)ติชมวิจารณ์หรือแนะนำผลงานโดยมีการรับรู้ถึงความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในโปรแกรมคอมพิวเตอร์นั้น
(4)เสนอรายงานข่าวทางสื่อสารมวลชนโดยมีการรับรู้ถึงความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในโปรแกรมคอมพิวเตอร์นั้น
(5)ทำสำเนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ในจำนวนที่สมควรโดยบุคคลผู้ซึ่งได้ซื้อหรือได้รับโปรแกรมนั้นมาจากบุคคลอื่นโดยถูกต้องเพื่อเก็บไว้ใช้ประโยชน์ในการบำรุงรักษาหรือป้องกันการสูญหาย
(6)ทำซ้าดัดแปลงนำออกแสดงหรือทำให้ปรากฏเพื่อประโยชน์ในการพิจารณาของศาลหรือเจ้าพนักงานซึ่งมีอำนาจตามกฎหมายหรือในการรายงานผลการพิจารณาดังกล่าว
(7)นำโปรแกรมคอมพิวเตอร์นั้นมาใช้เป็นส่วนหนึ่งในการถามและตอบในการสอบ
(8)ดัดแปลงโปรแกรมคอมพิวเตอร์ในกรณีที่จำเป็นแก่การใช้
(9)จัดทำสำเนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อเก็บรักษาไว้สำหรับการอ้างอิงหรือค้นคว้าเพื่อประโยชน์ของสาธารณชน
บทกำหนดโทษ
- ปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงสองแสนบาท
ถ้าการกระทำความผิดตามวรรคหนึ่งเป็นการกระทำเพื่อการค้าผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หกเดือนถึงสี่ปีหรือปรับตั้งแต่หนึ่งแสนบาทถึงแปดแสนบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ
พระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ.2544
- พรบ.ฉบับนี้มุ่งเน้นการกำหนดให้ผลทางกฎหมายของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ มีผลเทียบเท่ากับข้อมูลในรูปแบบกระดาษ (Functional –equivalent Approach) ความเป็นกลางทางเทคโนโลยีหรือความเป็นกลางของสื่อ (Technology Neutrality/Media Neutrality) รวมไปถึงความศักดิ์สิทธิ์ในการแสดงเจตนา(Party Autonomy) โดยพรบ.ฉบับนี้จะเข้ามามีผลในการบังคับใช้ควบคู่ไปกับกฎหมายฉบับอื่นที่มี อยู่แล้ว มิได้เข้ามาแทนที่การบังคับใช้กฎหมายฉบับอื่น
ประเด็นที่สำคัญ
- ข้อความที่อยู่ในรูปของข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์จะมีผลผูกพันและบังคับใช้ทางกฏหมาย (มาตรา 7)
- การเก็บรักษาเอกสาร ต้นฉบับต้องมีวิธีการที่สามารถเข้าถึงและนำกลับมาใช้ได้โดยความหมายไม่ เปลี่ยนแปลง มีความครบถ้วน และสามารถนามาอ้างอิงในภายหลังได้ (มาตรา 8,12)
- การรับรองลายมือชื่อ จะต้องใช้วิธีการที่มีความเชื่อถือได้ โดยสามารถระบุตัวเจ้าของลายมือชื่อและสามารถพิสูจน์ได้ว่าเจ้าของลายมือชื่อ นั้นยอมรับว่าเป็นของตน (มาตรา 9)
- การทำธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ภาครัฐ (มาตรา 35)
พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550
- “เนื่องจากในปัจจุบันระบบคอมพิวเตอร์ได้เป็นส่วนสำคัญของการประกอบกิจการและการดำรงชีวิตของมนุษย์
- หากมีผู้กระทำด้วยประการใดๆ ให้ระบบคอมพิวเตอร์ไม่สามารถทำงานตามคำสั่งที่กำหนดไว้หรือทำให้การทำงานผิดพลาดไปจากคำสั่งที่กำหนดไว้ หรือใช้วิธีการใดๆ เข้าล่วงรู้ข้อมูล แก้ไข หรือทำลายข้อมูลของบุคคลอื่นในระบบคอมพิวเตอร์โดยมิชอบ
- หรือใช้ระบบคอมพิวเตอร์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จหรือมีลักษณะอันลามกอนาจาร ย่อมก่อให้เกิดความเสียหาย กระทบกระเทือนต่อเศรษฐกิจ สังคม และความมั่นคงของรัฐ รวมทั้งความสงบสุขและศีลธรรมอันดีของประชาชน สมควรกำหนดมาตรการเพื่อป้องกันและปราบปรามการกระทำดังกล่าว”
ลักษณะความผิด
1. การกระทำต่อระบบคอมพิวเตอร์
- การเข้าถึงระบบ (มาตรา 5)
- การเปิดเผยมาตรการป้องกันการเข้าถึงระบบ (มาตรา 6)
- การรบกวนระบบ (มาตรา 10)
2. การกระทำต่อข้อมูลคอมพิวเตอร์
- การเข้าถึงข้อมูล (มาตรา 7)
- การดักข้อมูล (มาตรา 8)
- การรบกวนข้อมูล (มาตรา 9)
- สแปมเมล์ (มาตรา 11)
- การนำเข้า/เผยแพร่ข้อมูลที่ไม่เหมาะสม (มาตรา 14)
- การเผยแพร่ภาพตัดต่อในลักษณะหมิ่นประมาท (มาตรา 16)
3. การกระทำผิดต่อความมั่นคง (มาตรา 12)
4. การใช้ชุดคำสั่งกระทำความผิด (มาตรา 13)
5. การกระทำความผิดของผู้ให้บริการ (มาตรา 15, มาตรา 26)
6. การเปิดเผยข้อมูลของพนักงานเจ้าหน้าที่ (มาตรา 24)
การเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์โดยมิชอบ
มาตรา 5
ผู้ใดเข้าถึงโดยมิชอบซึ่งระบบคอมพิวเตอร์ที่มีมาตรการป้องกันการเข้าถึงโดยเฉพาะ และมาตรการนั้นมิได้มีไว้สาหรับตน
โทษ
ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
การเปิดเผยมาตราการป้องกันการเข้าถึงระบบ
มาตรา 6
ผู้ใดล่วงรู้มาตรการป้องกันการเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์ที่ผู้อื่นจัดทำขึ้นเป็นการเฉพาะ ถ้านำมาตรการดังกล่าวไปเปิดเผยโดยมิชอบในประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่น
โทษ
ต้องระวางโทษจาคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือ ทั้งจำทั้งปรับ
การเข้าถึงข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยมิชอบ
มาตรา 7
ผู้ใดเข้าถึงโดยมิชอบซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่มีมาตรการป้องกันการเข้าถึงโดยเฉพาะและมาตรการนั้นมิได้มีไว้สาหรับตน
โทษ
ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท หรือ ทั้งจำทั้งปรับ
การดักข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยมิชอบ
มาตรา 8
ผู้ใดกระทำด้วยประการใดโดยมิชอบด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์เพื่อดักรับไว้ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นที่อยู่ระหว่างการส่งในระบบคอมพิวเตอร์ และ ข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นมิได้มีไว้เพื่อประโยชน์สาธารณะ หรือเพื่อให้บุคคลทั่วไปใช้ประโยชน์ได้
โทษ
ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปีหรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือ ทั้งจำทั้งปรับ
การรบกวรข้อมูลคอมพิวเตอร์
มาตรา 9
ผู้ใดทำให้เสียหาย ทำลาย แก้ไข เปลี่ยนแปลง หรือเพิ่มเติมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่น โดยมิชอบ
โทษ
ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
รบกวนขัดขวางระบบคอมพิวเตอร์
มาตรา 10
ผู้ใดกระทำด้วยประการใดโดยมิชอบ เพื่อให้การทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ของผู้อื่่นถูกระงับ ชะลอ ขัดขวาง หรือรบกวน จนไม่สามารถทำงานตามปกติได้
โทษ
ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
สแปมเมล์ (Spam Mail)
มาตรา 11
ผู้ใดส่งข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือจดหมายอิเล็กทรอนิกส์แก่บุคคลอื่นโดยปกปิดหรือปลอมแปลงแหล่งที่มาของการส่งข้อมูลดังกล่าว อันเป็นการรบกวนการใช้ระบบคอมพิวเตอร์ของบุคคลอื่น โดยปกติสุข
โทษ
ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท
การนำเข้า / เผยแพร่เนื้อหาอันไม่เหมาะสม
มาตรา 14 ผู้ใดกระทาความผิดที่ระบุไว้ดังต่อไปนี้
(1) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน หรือข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน
(2) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จโดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายต่อความมั่นคงของประเทศหรือก่อให้เกิดความตื่นตระหนกแก่ประชาชน
(3) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใดๆอันเป็นความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งราชอาณาจักรหรือความผิดเกี่ยวกับการก่อการร้ายตามประมวลกฎหมายอาญา
(4) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใดๆที่มีลักษณะอันลามก และข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นประชาชนทั่วไปอาจเข้าถึงได้
(5) เผยแพร่หรือส่งต่อซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยรู้อยู่แล้วว่าเป็นข้อมูลคอมพิวเตอร์ตาม (1)(2)(3) หรือ (4)
โทษ
ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปีหรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ
การเผยแพร่ภาพซึ่งตัดต่อในลักษณะหมิ่นประมาท
มาตรา 16
ผู้ใดนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ที่ประชาชนทั่วไปอาจเข้าถึงได้ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่ปรากฏเป็นภาพของผู้อื่น และภาพนั้นเป็นภาพที่เกิดจากการสร้างขึ้น ตัดต่อ เติมหรือดัดแปลงด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์หรือวิธีการ อื่นใด ทั้งนี้ โดยประการที่น่าจะทำให้ผู้อื่นนั้นเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น ถูกเกลียดชังหรือได้รับความอับอาย
โทษ
ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
การเปิดเผยข้อมูลของพนักงานเจ้าหน้าที่
มาตรา 24
ผู้ใดล่วงรู้ข้อมูลคอมพิวเตอร์ ข้อมูลจราจรคอมพิวเตอร์ หรือข้อมูลของผู้ใช้บริการ ที่พนักงานเจ้าหน้าที่ได้มาตามมาตรา 18และเปิดเผยข้อมูลนั้นต่อผู้หนึ่งผู้ใด
โทษ
ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
การกระทำซึ่งก่อให้เกิดผลกระทบต่อความมั่นคง
มาตรา 12
กำหนดว่าถ้าเป็นการกระทำความผิดที่เป็นการ รบกวนข้อมูลคอมพิวเตอร์ตามมาตรา 9 หรือ เป็นการรบกวนระบบคอมพิวเตอร์ตามมาตรา 10
(1) ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ประชาชน ไม่ว่าความเสียหายนั้นจะเกิดขึ้นในทันทีหรือในภายหลังและไม่ว่าจะเกิดขึ้นพร้อมกันหรือไม่
โทษ
ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสอบปี และปรับไม่เกินสองแสนบาท(2) เป็นการกระทำโดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายต่อข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือระบบคอมพิวเตอร์ที่เกี่ยวกับการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของประเทศ ความปลอดภัยสาธารณะ ความมั่นคงในทางเศรษฐกิจของประเทศหรือการบริการสาธารณะ หรือเป็นการกระทำต่อข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือระบบคอมพิวเตอร์ที่มีไว้เพื่อประโยชน์สาธารณะ
โทษ
ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สามปีถึงสิบห้าปี และปรับตังแต่หกหมื่นบาทถึงสามแสนบาท
ถ้าการกระทำความผิดตาม (2) เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สิบปีถึงยี่สิบปี
การใช้ชุดคำสั่งในทางมิชอบ
มาตรา 13
ผู้ใดจำหน่ายหรือเผยแพร่ชุดคำสั่งที่จัดทำขึ้นโดยเฉพาะเพื่อนำไปใช้เป็นเครื่องมือในการ กระทำความผิดตามมาตรา 5 มาตรา 6มาตรา 7 มาตรา 8 มาตรา 9 มาตรา 10 หรือ มาตรา 11
โทษ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ผู้ให้บริการก็มีความผิดได้
มาตรา 15
ผู้ให้บริการผู้ใดจงใจสนับสนุนหรือยินยอมให้มีการกระทำความผิดตามมาตรา 14 ในระบบคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในความควบคุมของตน
โทษ
ต้องระวางโทษเช่นเดียวกับผู้กระทำความผิดตามมาตรา 14
มาตรา 26
ผู้ให้บริการต้องเก็บรักษาข้อมูลการจราจรทางคอมพิวเตอร์ ไว้ไม่น้อยกว่า 90 วัน
โทษ
ผู้ให้บริการที่ไม่ปฏิบัติตามต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าแสนบาท
ข้อแนะนำสำหรับผู้ใช้บริการ
- อย่าบอก password ตนเองแก่บุคคลอื่น
- อย่านำ user ID และ password ของบุคคลอื่นมาใช้งานหรือเผยแพร่
- อย่าส่ง (send) หรือส่งต่อ(forward) ภาพ ข้อความ หรือภาพเคลื่อนไหวที่ผิดกฎหมาย
- อย่าให้บุคคลอื่นที่ไม่รู้จักมายืมใช้เครื่องคอมพิวเตอร์หรือโทรศัพท์
- การติดตั้งระบบเครือข่ายไร้สายควรจะมีระบบป้องกันมิให้บุคคลอื่นแอบใช้งานโดยมิได้รับอนุญาต
- จัดเก็บข้อมูลจราจรไว้ไม่น้อยกว่า 90 วัน
- ติดตามประกาศกระทรวงฯ เรื่องหลักเกณฑ์การเก็บรักษาข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ของผู้ให้บริการ
◦ประเภทผู้ให้บริการ
◦ชนิดของข้อมูลที่ต้องจัดเก็บ
◦เวลาที่ต้องเริ่มเก็บ (เมื่อพ้น 30/180/360 วันนับจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา)
- เทียบเวลาประเทศไทยให้ตรงกับเครื่องให้บริการเวลา (Time Server)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น